วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556



อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด




ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรีและกิ่งอำเภอสามร้อยยอด ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้ประมาณ 63 กิโลเมตร

ตามตำนานเล่ากันว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา และประสบกับลมพายุมรสุมจนเรืออับปาง คนบนเรือที่รอดชีวิต 300 คนได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ จึงเรียกว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาเพี้ยนเป็น “เขาสามร้อยยอด” จนทุกวันนี้

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาหินปูนสูงชันริมฝั่งทะเล ผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำทะเลตื้น รวมถึงเกาะหินปูนที่ตั้งเรียงรายอยู่ใกล้ชายฝั่ง เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิดซึ่งมีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานฯ

  • ถ้ำไทร ตั้งอยู่ในเขตมู่บ้านคุ้งโตนด ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 9 กิโลเมตร สามารถนำรถยนต์ไปจอดบริเวณหมู่บ้านใกล้เชิงเขาแล้วเดินขึ้นไปบนถ้ำระยะทางประมาณ 280 เมตร ช่วงแรกของถ้ำมีต้นไทรซึ่งเป็นที่มาของชื่อถ้ำ ช่วงถัดไปมีหินงอกหินย้อยงดงามหลายจุด จุดที่น่าสนใจในถ้ำ ได้แก่ สระโบกขรณี ห้องหินงอกหินย้อย ห้องม่าน เจ็ดสี น้ำตกแห้ง อนุสาวรีย์ตาเอิบซึ่งเป็นผู้พบถ้ำคนแรก บ่อน้ำน้อยหน่าและหินโดม ภายในถ้ำค่อนข้างมืด นักท่องเที่ยวสามารถเช่าตะเกียงเจ้าพายุหรือไฟฉายจากชาวบ้านที่หมู่บ้านคุ้งโตนดได้
  • ถ้ำแก้ว อยู่ที่เขาหุบจันทร์ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯไปทางบ้านบางปู 16 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านบริเวณนากุ้งจนสุดถนนลูกรังแล้วเดินเท้าไปยังปากถ้ำ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยระยิบระยับสวยงาม ภายในถ้ำมืดมาก และค่อนข้างอันตรายเพราะมีเหวลึก จำเป็นต้องมีตะเกียงเจ้าพายุ และเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ นำทาง
มีบริการบ้านพักที่บริเวณเขาแดง และที่หาดแหลมศาลา และยังมีบริการเต็นท์ให้เช่า ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0-2562-0760 หรือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0-3261-9078




จุดชมวิวเขาแดง

จุดชมวิวเขาแดง เป็นจุดชมวิวที่เหมาะกับการชมพระอาทิตย์ขึ้นในช่วง 05.30-07.00 น. เนื่องจากสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทัศนียภาพโดยรอบๆ ได้อย่างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นวิวเขาสามร้อยยอด ชายหาดสามพระยา เชิงเขาแดงมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว การเดินทางต้องเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 400 เมตร หรือขับรถไปหมู่บ้านเขาแดงจะมีทางแยกด้านซ้ายมือ จอดรถแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีกประมาณ 725 เมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง




ครองเขาแดง

คลองเขาแดง เหมาะสำหรับล่องเรือชมทิวทัศน์และสัตว์นานาชนิดในระบบนิเวศป่าชายเลน นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือได้จากหมู่บ้านเขาแดงและหมู่บ้านบางปู โดยลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดง ล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ลดเลี้ยวผ่านป่าชายเลน สู่หมู่บ้านประมงเขาแดง หมู่บ้านประมงเก่าแก่อายุร่วม 100 ปี บริเวณท่าเรือ มีเรือประมงชายฝั่งจอดเรียงราย ก่อนวนกลับมาทางเดิม ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เวลาที่เหมาะแก่การล่องเรือคือ ประมาณ 16.00-17.00 น. เพราะอากาศไม่ร้อน และสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม 




ทุ่งสามร้อยยอด (บึงบัว)

ทุ่งสามร้อยยอด (บึงบัว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยพืชจำพวกอ้อ กก จึงเป็นแหล่งอาศัยของนกอพยพนานาชนิด เช่น  นกยาง นกกาน้ำ นกอีล้ำ นกกระสาแดง นกอีโก้ง ฯลฯ สามารถล่องเรือชมธรรมชาติ เรือถ่อ เรือแคนู ดูนก ถ่ายภาพ เหมาะกับการศึกษาค้นคว้า หากมาในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม จะมีนกมาก และดอกบัวมาก การเดินทาง ตามถนนเพชรเกษมหากมาจากหัวหิน ให้แยกซ้ายที่ กม.275.6 (ซอยโรงเจ)





ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากหาดแหลมศาลาตามเส้นทางเดินเท้าขึ้นเขาประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทาง โดยทางเรือ โดยเช่าเรือจากหมู่บ้านบางปูไปยังหาดแหลมศาลา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ราคาไป-กลับ 300 บาทต่อลำ (8 คน) หรือจากบ้านบางปูเดินข้ามเขาเทียนเป็นระยะทางประมาณ 530 เมตรไปยังหาดแหลมศาลา จากชายหาดแหลมศาลามีทางเดินขึ้นเขาไปยังถ้ำพระยานครอีก 500 เมตร ระหว่างทางมีบ่อน้ำกรุด้วยอิฐดินเผารูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร เรียกว่า “บ่อพระยานคร”

ตามประวัติเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้แล่นเรือผ่านทาง เขาสามร้อยยอด และเกิดพายุใหญ่ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงจอดพักเรือหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลาหลายวัน และได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม “ถ้ำพระยานคร” เป็นถ้ำขนาดใหญ่ บนเพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้

จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ คือ “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง ที่กำแพงหิน ด้านขวามีพระปรมาภิไธยย่อในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7 เป็นตัวหนังสือใหญ่สีขาวสะดุดตา พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์นับเป็นจุดเด่นของถ้ำพระยานคร และเป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน อุทยานฯ


แผนที่ปราณบุรี






เรียบเรียงโดย นางสาวลลิตวดี บริบูรณ์ 551-00-0331  สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ม.เกริก

แหล่งอ้างอิง
https://www.google.co.th/search?q=ปราณบุรี
http://www.phudoilay.com

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ปราณบุรี




ปราณบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปราณบุรี เป็นอำเภอที่อยู่ไม่ไกลจากอำเภอหัวหินนัก ขับรถ ไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็มาถึงบริเวณชายหาดปากน้ำปราณที่มีรีสอร์ทเก๋ ๆ เรียงรายให้เลือกเข้าไปพักผ่อนมากมาย มีทะเลที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งใน ปราณบุรี หรือปากน้ำปราณคือ อีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนอันแสนสงบอีกแห่งหนึ่ง.ชายหาดที่ ปราณบุรี มีความงดงามไม่แพ้ ชายหาดหัวหิน เช่นกัน หากคุณกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนสำหรับวันหยุดนี้ ปราณบุรี อาจเป็นคำตอบของคุณ



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในปราบุรี



เขื่อนปราณบุรี 
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองตาแต้ม กิโลเมตรที่ 253 ห่างจากจุดปากทางเข้าถนนเพชรเกษม ประมาณ 12 กิโลเมตรและ ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำปราณบุรี สันเขื่อน ยาว1,500 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 42 เมตร ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ลำน้ำทอดยาวไปใน พื้นที่ เพาะปลูก ของอำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง เป็นระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร





หมู่บ้านปากน้ำปราณ 
บริเวณ “ปากน้ำปราณ” คือ บริเวณช่วงที่แม่น้ำปราณบุรีไหลลงสู่ทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง หมู่บ้านแห่งนี้ี้จึงกลายเป็นศูนย์รวมอาหารทะเลจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ อาหารทะเลที่ขึ้นชื่อของที่นี่ คือ ปลาหมึกสด ปลาหมึกแดดเดียว ปลาหมึกแห้ง กะปิเคย กุ้งแห้ง ฯลฯ 



หาดนเรศวร-หาดเขากระโหลก
หาดนเรศวรเป็นหาดที่ยาวต่อเนื่องมาจากหาดปราณบุรีไปจนถึงเขากระโหลก เป็นหาดที่มีความเงียบสงบและจากการที่มีชายหาดกว้าง จึงเหมาะสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ที่พักบริเวณนี้จะมีพื้นที่ติดริมหาดโดยไม่มีถนนตัดผ่าน


วนอุทยานปราณบุรี 
ตั้งอยู่ใน อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี (สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช) ประกอบไปด้วย ป่าชายเลน ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาด

ที่พักปราณบุรี



Villa Maroc Resort 
ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งที่หาดปราณบุรี รีสอร์ทมีสถาปัตยกรรมแบบโมร็อกโก เราบริการห้องพักพร้อมฟรีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi - Fi) สระว่ายน้ำกลางแจ้ง สปา และร้านอาหาร

แผนที่ปราณบุรี




การเดินทางไปปราณบุรี

1.รถยนต์ส่วนตัว 
เดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี – ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านสมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านเพชรบุรีเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือจากกรุงเทพฯ ใช้เส้น ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ถึง อ. ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึง สี่แยกปราณบุรีให้แยกซ้าย ผ่านตำบลปราณบุรี แล้วเข้าสู่ตำบลปากน้ำปราณ ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 15 กิโลเมตร


2.รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ มีบริการรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน บริษัทที่ให้บริการเดินรถเส้นทางสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ - บริษัทหัวหิน-ปราณทัวร์ โทร. 0 2894 6057,0 28846191-2 (ตั้งแต่เวลา 04.00–22.30 น.),
- บริษัทพุดตานทัวร์ โทร. 0 2894 6046 (ประจวบ) โทร. 0 3261 1411 (ตั้งแต่เวลา 06.00–01.30 น.),
- บริษัทบางสะพานทัวร์ โทร. 08 1829 7752, 08 1829 8641 บางสะพานโทร. 0 3269 9043
- บ้านกรูด โทร.0 3269 5074 (รถออกเวลา 07.30 น. รถบ้านกรูดออกเวลา 12.30 น. (วันเสาร์เพิ่มรอบ 07.30 น.) ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199,
0 2434 7192, 0 2435 5605

3. รถตู้
รถออกจากอนุสาวรีย์ชัยทุกชั่วโมง ตั้งแต่ ตี 5 - 2 ทุ่ม ผ่านเส้นบายพาส ผ่านม.ศิลปากร วัดห้วยมงคล หรือหาก ต้องการให้ผ่านชะอำ หรือ หัวหินก็แจ้งคนขับได้ สุดทางอยู่ที่สี่แยกปราณบุรี ซึ่งสามารถต่อรถไปปากน้ำปราณบุรี หรือเขากะโหลก อีกชื่อหนึ่งคือวนอุทยานท้าวโกษา ได้เลย ราคา 200 บาท ถึงสี่แยกปราณฯ มีรถกลับจากปราณฯ โดยคิวรถอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอปราณบุรี รถออกตั้งแต่เวลาตี 5 ถึง 6 โมงเย็น ใช้เวลาเดินทางแค่ 3 ชั่วโมงก็ถึงกรุงเทพสอบถามเพิ่มเติม หรือ สำรองที่นั่งได้ที่
คิวรถหน้าอำเภอปราณบุรี : 089-170-4340, 086-764-1559
คิวรถที่อนุสาวรีย์ชัย : 089-171-4844, 085-403-6113

4. การเดินทางโดยรถไฟ 
จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีบริการขบวนรถไฟสายใต้ผ่านหัวหิน ปราณบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ทุกวันสำหรับรถไฟ
ท้องถิ่นมีขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ-ปราณบุรี ออกจากสถานีหัวลำโพง 15.35 น. ถึงสถานีปราณบุรี 20.41 น. หรือ ขบวนรถธรรมดาเส้นทาง ธนบุรี-ปราณบุรี ออกจากสถานีธนบุรี 7.25 น. และ 13.05 น. ถึงสถานีปราณบุรี 12.20 น. และ 18.10น. ตรวจสอบตารางเดินรถไฟเพิ่มเติมได้ที่ หน่วย
บริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334 นช่วงวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์การรถไฟมีขบวน รถนำเที่ยวสวนสนประดิพัทธ์ หัวหิน แวะนมัสการปฐมเจดีย์ แบบเช้าไปเย็นกลับ โดยขบวนรถออกจากกรุงเทพฯ เวลา 06.30 น. และกลับถึง กรุงเทพฯเวลา 19.25 น. อัตราค่าบริการคนละ 100 บาท

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ศาลหลักเมือง
  • อ่าวมะนาว
  • เพลินวาน
  • หัวหิน
  • เขาเต่า
  • ปราณบุรี
  • ตลาดโต้รุ่งหัวหิน
  • ปากน้ำปราณบุรี
  • และสถานที่อื่นๆอีกมากมาย

เรียบเรียงโดย นางสาวลลิตวดี บริบูรณ์ 551-00-0331  สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ม.เกริก

แหล่งอ้างอิง
http://www.paiduaykan.com
http://www.phudoilay.com
https://www.google.co.th/search?q=หาดนเรศวร+-+หาดเขากระโหลก
https://www.google.co.th/search?q=ปราณบุรี
https://www.google.co.th/search?q=วนอุทยานปราณบุรี